มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๒)
เนื่องจากความคุ้นเคยกันมากเกินไป พระเทวีได้ประพฤติ นอกใจพระราชา โดยประพฤติมิจฉาจารกับทาสของตนเอง เมื่อพระนางทำผิดแล้ว เกรงว่าพระสวามีจะจับได้ จึงแนะนำให้ทาสปลงพระชนม์พระราชา
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - พุทธบูชาพาพ้นทุกข์
เมื่อใคร่ครวญสักครู่หนึ่ง ก็คิดได้ว่า การบูชาด้วยของหอม เป็นสิ่งที่ทุกคนกระทำกันดีอยู่แล้ว เราจะต้องทำให้ประณีตและแตกต่างออกไป จะเห็นว่านักสร้างบารมีในสมัยก่อน ในใจของเขา คิดเอาแต่บุญพิเศษ แสวงหาวิธีการที่จะเพิ่มเติมบุญให้กับตนเอง ท่านจึงรวบรวมของหอมจำนวนมาก มีจันทน์ กำยาน การบูร และกฤษณา เป็นต้น สร้างเป็นสถูปของหอมถวายพระบรมศาสดา
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - โอกาสดีที่พบเนื้อนาบุญ
เมื่อตกลงใจอย่างนี้ ท่านรีบจัดทำพัดทันที อยากให้สังเกตตรงนี้ให้ดีว่า สำหรับนักสร้างบารมีนั้น เมื่อตัดสินใจจะสร้างบุญใหญ่ ท่านเหล่านั้นจะคิดแสวงหาบุญเอาเอง และตั้งใจทำสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อบูชาบุคคลผู้เลิศที่สุด เหมือนกุลบุตรท่านนี้ ได้สร้างพัดขึ้น แต่วัสดุที่ใช้ ไม่ใช่วัสดุธรรมดา เอาของที่มีค่าที่สุดในสมัยนั้นมาทำ ได้แก่ ทอง เงิน แก้วมุกดา และแก้วมณี
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - อดทนให้ถึงที่สุด
พระกุมารทรงระลึกชาติหนหลัง ก็รู้ว่าก่อนที่ตนจะมาเกิดในพระราชฐานนี้ ได้จุติมาจากเทวโลก และทรงระลึกย้อนไปอีกว่า ก่อนที่จะอยู่ในเทวโลก ได้มาจากมหานรกขุมหนึ่ง และก่อนที่จะตกนรก ได้ เคยเกิดเป็นพระราชาอยู่ในแคว้นนี้เอง จึงทรงดำริว่า ถ้าเราครองราชสมบัติอีก ก็จะต้องสร้างกรรม และต้องเสวยทุกข์ใหญ่ในมหานรกอีกอย่างแน่นอน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ชิตัง เม... เราชนะแล้ว
ยามใดที่เราพรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์สมบัติ มีศรัทธา พบเนื้อนาบุญยามนั้นเราย่อมสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย แต่ยามใดที่เราไม่มีไทยธรรมหรือโภคทรัพย์สมบัติ แม้จะมีศรัทธา มีเนื้อนาบุญ เราก็ไม่อาจจะให้ทานได้ กว่าจะสร้างบารมีอื่นๆ ได้แต่ละอย่าง ก็แสนจะลำบาก เพราะฉะนั้นทานบารมีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของนักสร้างบารมี
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฎฐิ (๘)
เพราะกรรมเจ้าชู้ที่หม่อมฉันเคยทำไว้นั้นตามมาทัน คือ หลังจากหม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้ว ก็ไปหมกไหม้อยู่ในโรรุวมหานรกเป็นเวลายาวนาน ได้รับความทุกข์อันแสนสาหัส ไม่มีความสุขแม้เพียงครู่เดียว ครั้นพ้นจากมหานรกแล้ว ได้เกิดเป็นลาที่ต้องถูกตอน และถูกใช้งานตลอดชีวิต
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - โทษที่ไม่มีโทษ
การที่เราจะเป็นผู้ปกครองที่ดี จะต้องรู้จักสอนคนในปกครองให้เป็นคนดี ให้เขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพ คือให้มีความรู้คู่คุณธรรม ครูบาอาจารย์ที่ดีก็เช่นกัน ต้องหมั่นตักเตือนสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี คอยประคับประคองให้ลูกศิษย์ดำเนินไปในเส้นทางที่ถูกต้อง ถูกทำนองคลองธรรม โดยไม่กลัวภัยที่จะเกิดขึ้นกับตน
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - บาปไม่กล้ำกราย
ด้วยพุทธานุภาพ ทำให้นายพรานปล่อยลูกธนูไปไม่ได้ ครั้นจะลดคันธนูลงก็ลดไม่ได้ ได้แต่ยืนง้างธนูอยู่นานจนเมื่อย จะเปลี่ยนอิริยาบถอื่นก็เปลี่ยนไม่ได้ ลูกๆ ทั้งเจ็ดของนายพรานเห็นว่า สายแล้วพ่อของตนยังไม่กลับบ้าน สงสัยพ่อจะมีอันตราย จึงพากันออกตามหา พบพ่อยืนโก่งธนูหันไปทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเขาคิดว่า บุรุษนี้คงจะเป็นศัตรูของพ่อ ลูกของนายพรานทั้ง ๗ คน จึงโก่งธนูเล็งลูกศรไปทางพระบรมศาสดา
ประวัติความเป็นมาของวันมหาปวารณา
กำเนิดวันมหาปวารณา ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษาเกิดขึ้นเมื่อไร ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง